top of page

พัฒนาการเจ้าตัวน้อย วัย 1 เดือน

  • Bumblebee nursery
  • Nov 9, 2017
  • 1 min read

เดือนนี้ลูกแม่เอาแต่นอน

ลักษณะลูก

ในช่วง 2 สัปดาห์แรก ลูกจะนอนเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่สามารถกำหนดเวลาต่างๆ ของลูกได้แน่นอน เช่น บางคนอาจจะปัสสาวะวันละ 5-6 ครั้ง บางคนอาจจะถึง 10 ครั้ง ครึ่งเดือนหลังคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกมีลักษณะพื้นฐานอย่างไร เช่น เด็กบางคนนอนนาน ไม่ค่อยร้องกวน ดูดนมแต่ละที่ดูดได้เยอะ พออิ่มก็หลับ บางคนอาจตื่นบ่อย หลับยาก เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องค่อยเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับลักษณะพื้นฐานของลูก

พัฒนาการ

การร้องไห้เป็นวิธีการอย่างเดียวของเด็กวัยนี้ที่จะสื่อสารให้คุณแม่รู้ว่าต้องการอะไร เริ่มตั้งแต่ หิว เปียก อยากให้อุ้ม เจ็บปวด วิธีที่ดีที่สุดที่คุณแม่สามารถทำได้ คือ การตอบสนองให้ถูกกับความต้องการ ซึ่งต้องใช้ความคุ้นเคย ความใกล้ชิด และการสังเกตว่าการร้องของลูกแต่ละครั้งต้องการอะไร มีบางครั้งที่ลูกอาจร้องโดยหาสาเหตุไม่เจอก็ได้ ถ้าเป็นลักษณะนั้นให้อุ้มปลอบอย่างอ่อนโยน หรือเปลี่ยนท่าอุ้ม ท่าให้นม อาจจะทำให้ลูกสงบลงได้

ร่างกาย

- ถ้าแสงในห้องไม่จ้าจนเกินไป ลูกจะลืมตาขึ้นมองเป็นบางครั้ง และจะมองเห็นได้ดีที่สุดประมาณ 1 ฟุต ฉะนั้นระหว่างที่ลูกดูดนมแม่ หน้าแม่จะอยู่ในระยะสายตาของลูกได้ดีที่สุด

- การทำงานของหูจะสมบูรณ์ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์คุณแม่แล้ว ดังนั้นเวลาลูกน้อยได้ยินเสียงดัง จึงมีอาการสะดุ้ง ตกใจ ในช่วงเดือนแรก ลูกน้อยจะมีรีเฟลกซ์ (Reflex) เกิดขึ้นหลายอย่าง ที่เห็นง่ายที่สุด คือ เมื่อร้องไห้ ตกใจ เด็กจะทำท่าผวา มือเท้าสั่น หรือบางครั้งนอนเฉยๆ ก็ยิ้มขึ้นมา (ผู้ใหญ่บ้านเรามักบอกว่า ยิ้มกับแม่ซื้อ) เป็นรีเฟลกซ์ หรือปฏิกิริยาของกล้ามเนื้ออย่างหนึ่ง ทีเ่ป็นไปโดยอัตโนมัติ

- เด็กวัยนี้ชอบเสียงสูงมากกว่า และชอบฟังเสียงที่ทอดยาวไปนานๆ ประมาณ 10 นาที ไม่ชอบฟังเสียงที่สะดุด สั้นๆ ดังนั้นลูกจึงชอบฟังเสียงแม่มากกว่าเสียงพ่อ

- เด็กผู้ชายจะมีลักษณะกระฉับกระเฉงกว่าเด็กผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังมีความรู้สึกไวต่อการเจ็บปวดเร็วกว่าผู้ชาย

- เด็กทารกทุกคน มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ตั้งแต่ท่าทาง ความรู้สึก การเคลื่อนไหว การตอบสนองต่อสิ่งเร้า

สังคม

- เมือตาได้จ้องหน้าแม่จะสงบขึ้น

- จำเสียงพ่อแม่ได้

- ยังไม่ค่อยมีปฎิกิริยาตอบโต้

Play Tip

การโอบกอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ให้นมลูก การกล่อมนอน ร้องเพลงให้ลูกฟัง ล้วนเข้าไปช่วยกระตุ้นเซลล์สมองของลูกน้อยให้ทำงาน พร้อมที่จะพัฒนาต่อไป

การแตะฝ่ามือ แตะฝ่าเท้า สัมผัสลูกบ่อยๆ จะทำให้ลูกรับสัมผัสจากแม่ ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหว


 
 
 

Comments


Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page